.

กศน.ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ยินดีต้อนรับ

 
 
 
 
 
 
 
คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเว็บไซต์ใหม่ ?
ดีมาก
ดี
ปานกลาง
น้อย
น้อยมาก
 

  หน้าหลัก    ภารกิจ และหน้าที่รับผิดชอบของหน่วยงาน 
ภารกิจ และหน้าที่รับผิดชอบของหน่วยงาน
 

 

บทบาทหน้าที่ภารกิจ

กศน. ตําบล ยึดการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นฐานในการดําเนินงานและจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการ ความร่วมมือของชุมชนและภาคีเครือข่าย เช่น อาคาร สถานที่ แหล่งวิทยาการ ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมประเพณีมีการประสานเครือข่ายในชุมชนร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยส่งเสริม สนับสนุน ให้ทุกภาคส่วนในชุมชนสังคมเข้ามามีส่วนร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการดําเนินกิจกรรม กศน. ตําบล  ทั้งในฐานะผู้ให้บริการผู้รับบริการ มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ ร่วมคิด ร่วมทํา ร่วมแก้ปัญหา บูรณาการกระบวนการเรียนรู้และจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน มีคณะกรรมการ กศน. ตําบล ที่เป็นคนในชุมชนให้การส่งเสริมสนับสนุน ติดตาม ดูแล และร่วมประเมินผล                การดําเนินงาน กศน. ตําบล ภายใต้กลไก การขับเคลื่อนการดําเนินงาน ซึ่งประกอบด้วย 4 ศูนย์ ดังนี้

      1.   ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบล

           ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจําตําบล              เป็นศูนย์กลาง การจัดการเรียนรู้รวบรวม ขยายผล เชื่อมโยง สร้างเครือข่าย และเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ และการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทตามแนวพระราชดําริและหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อให้เกิดการพัฒนาสังคมและชุมชนอย่างต่อเนื่องมีความเข้มแข็ง อย่างยั่งยืนโดยบูรณาการการทํางานและประสาน        ความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ เอกชน ภูมิปัญญา และปราชญ์ชาวบ้าน เช่น กองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ. รมน.) มูลนิธิครอบครัวพอเพียง องค์กรปกครอง         ส่วนท้องถิ่น แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง       และเกษตรทฤษฎีใหม่ประจําตําบล ดําเนินการ ใน 2 ลักษณะ ได้แก่

           1.1   ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจําตําบล                      ที่ดําเนินการในพื้นที่ตั้งของ กศน. ตําบล

           1.2   ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจําตําบล                      ที่ดําเนินการโดยใช้แหล่งการเรียนรู้นอกพื้นที่ตั้งของ กศน. ตําบล ซึ่งเป็นการประสานงาน                   และดําเนินการร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งนี้เพื่อให้การขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจําตําบลสามารถบรรลุเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรม

2.   ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตําบล

      ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตําบลมีหน้าที่ในการจัดการเรียนรู้รวบรวม ขยายผลเชื่อมโยง สร้างเครือข่าย และเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เสริมสร้างความเข้าใจในสิทธิหน้าที่ วินัย และความเป็นพลเมือง            ในวิถีระบอบประชาธิปไตย โดยบูรณาการความร่วมมือในการทํางานร่วมกับภาคีเครือข่าย              เช่น สํานักงาน กกต. สภาพัฒนาการเมือง (สพม.) ภาคประชาสังคม ซึ่งมีแนวทางการดําเนินงาน ดังนี้

           2.1   จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตําบล         

           2.2   จัดกระบวนการเรียนรู้โดย กศน.เพื่อส่งเสริมวิถีประชาธิปไตย

           2.3   จัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับกกต. เพื่อส่งเสริมวิถีประชาธิปไตยในระดับตําบล

           2.4   สรุปผล รายงาน และเผยแพร่ผลการดําเนินงาน

3.   ศูนย์ดิจิทัลชุมชน

      ศูนย์ดิจิทัลชุมชน เป็นศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ศูนย์บริการอินเทอร์เน็ต และศูนย์บริการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ถ่ายทอดความรู้ ให้แก่นักศึกษา กศน. และประชาชนเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย การสืบค้นข้อมูลข่าวสาร การติดต่อสื่อสาร การบริหารจัดการ เพิ่มมูลค่าสินค้าและผลิตภัณฑ์สู่การค้าออนไลน์                (e - Commerce) เป็นการเพิ่มช่องทางการจัดจําหน่ายและไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง เป็นการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้การประชาสัมพันธ์กิจกรรมของชุมชนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกในยุคดิจิทัล ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการดําเนินชีวิตการประกอบอาชีพ และอื่น ๆ โดยร่วมมือกับเครือข่าย          เช่น กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมีแนวทางการดําเนินงาน ดังนี้

      3.1   กิจกรรมให้ความรู้ด้าน ICT แก่นักศึกษา กศน. และประชาชนในชุมชน

      3.2   จัดเก็บ วิเคราะห์และเผยแพร่ระบบสารสนเทศชุมชน

      3.3   กิจกรรมการให้ความรู้ด้าน e – commerce และการจัดทําเว็บไซต์การบริการด้านต่าง ๆ          ของชุมชน

      3.4   สรุปผล รายงาน และเผยแพร่ผลการดําเนินงาน

 

 

4.   ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตชุมชน

      ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตชุมชน เป็นศูนย์จัดส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษา          ในระบบการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ให้มีคุณภาพที่สอดคล้องกับนโยบาย             ทางการศึกษา โดยยึดชุมชนเป็นฐานในการดําเนินงานและการจัดการเรียนรู้ตลอดจนการระดมทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนและภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาโดย กศน. ตําบล       มีบทบาทในฐานะผู้จัด ส่งเสริม ประสานงานและอํานวยความสะดวก เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในชุมชนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ซึ่งมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้

      4.1   การศึกษานอกระบบ

              4.1.1   การส่งเสริมการรู้หนังสือตาม ระเบียบและแนวปฏิบัติของการจัดการศึกษานอกระบบ สําหรับกลุ่มผู้ไม่รู้หนังสือและผู้ลืมหนังสือ

              4.1.2   การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักสูตรการศึกษา นอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                       1)   ประถมศึกษา

                       2)   มัธยมศึกษาตอนต้น

                       3)   มัธยมศึกษาตอนปลาย

              4.1.3   การศึกษาต่อเนื่อง แบ่งเป็น

                       1)    การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพตามแนวทางในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ

                       2)   การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตตามแนวทางในการจัดการศึกษา        เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต

                       3)   การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน ตามแนวทางในการจัดการศึกษา          เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน

              4.1.4   การศึกษาตามอัธยาศัย

                       1)   การส่งเสริมการอ่าน

                       2)   จัดบริการสื่อ

                       3)   แหล่งการเรียนรู้ในชุมชน

 

การขับเคลื่อน กศน.สู่ กศน. WOW

    1.  พัฒนาครู กศน. และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการศึกษาและเรียนรู้ : Good Teacher

           เป็นผู้เชื่อมโยงความรู้กับผู้เรียน ผู้รับบริการ มีความเป็น ครูมืออาชีพมีจิตบริการ มีความรอบรู้ และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม เป็นผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้และบริหารจัดการความรู้ที่ดี

          4.1.1  พัฒนาครู และบุคลากร

                    1) พัฒนาครู กศน.ตำบลเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นเรื่องการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ทักษะภาษาต่างประเทศ ทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้

                   2) พัฒนาบุคลากร กศน.ทุกระดับทุกประเภทให้มีทักษะความรู้เรื่องการใช้ประโยชน์จากดิจิทัลและภาษาต่างประเทศที่จำเป็น

    2.  พัฒนา กศน.ตำบลให้มีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ : Good Place - Best Check in

          ให้มีความพร้อมในการให้บริการกิจกรรมการศึกษาและเรียนรู้ เป็นแหล่งข้อมูลสาธารณะที่ง่ายต่อการเข้าถึง มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้เป็นเสมือนคาเฟ่การเรียนรู้สำหรับทุกคนทุกช่วงวัย มีสิ่งอำนวยความสะดวก มีความสวยงามที่ดึงดูดความสนใจ และมีความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้บริการ

          4.2.1 ยกระดับ กศน.ตำบล 928 แห่ง (อำเภอละ 1 แห่ง) เป็น กศน.ตำบล 5 ดี พรีเมี่ยมที่ประกอบด้วยครูดี สถานที่ดี (ตามบริบทของพื้นที่) กิจกรรมดี เครือข่ายดี และมีนวัตกรรมดีมีประโยชน์

    3.  ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ : Good Activities

          พัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้มีความทันสมัย เอื้อต่อการเรียนรู้ สำหรับทุกคน ที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา มีกิจกรรมที่หลากหลาย น่าสนใจ สนองตอบความต้องการของชุมชน เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของประชาชน รวมทั้งใช้ประโยชน์จากประชาชนในชุมชนในการร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของคนในชุมชนไปสู่การจัดการความรู้ของชุมชนอย่างยั่งยืน

          4.3.1 พัฒนาการจัดการศึกษาออนไลน์ กศน. โดยให้มีการเรียนออนไลน์สายสามัญ การเรียนออนไลน์เรื่องทักษะอาชีพ และการพัฒนาเว็บเพจการค้าออนไลน์

          4.3.2 เร่งปรับหลักสูตรการจัดการศึกษาอาชีพ กศน.ให้เป็นอาชีพที่รองรับอุตสาหกรรมอนาคต (New S-curve) โดยเฉพาะจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษให้ดำเนินการโดยเร่งด่วน สำหรับพื้นที่ปกติให้พัฒนาอาชีพที่เน้นการต่อยอดศักยภาพและบริบทตามบริบทของพื้นที่

    4. เสริมสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย : Good Partnership

          ประสาน ส่งเสริมความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาคม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อสร้างความเข้าใจ และให้เกิดความร่วมมือในการส่งเสริม สนับสนุน และจัดการศึกษาและการเรียนรู้ให้กับประชาชนอย่างมีคุณภาพ

          4.4.1 เร่งจัดทำทำเนียบภูมิปัญญาท้องถิ่นในแต่ละตำบล เพื่อใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้างการเรียนรู้จากองค์ความรู้ในตัวบุคคลให้เกิดการถ่ายทอดภูมิปัญญา สร้างคุณค่าทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน

          4.4.2 ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การจัดการเรียนรู้ชุมชน

          4.4.3 ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายเพื่อการขยาย และพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทุกกล่มอย่างกว้างขวางและมีคุณภาพ อาทิ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่ม อสม.

    5. พัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาและกลุ่มเป้าหมาย : Good Innovation

            ให้พัฒนานวัตกรรมหรือสร้างสรรค์การดำเนินงานใหม่ๆ เพื่อสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ พัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้ทันสมัย

           5.1  เร่งจัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษา และพัฒนาผลิตภัณฑ์ Brand กศน. เพื่อยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์การบริหารจัดการการผลิต การส่งออก การตลาด และสร้างช่องทางการจำหน่าย ตลอดจนส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการเผยแพร่และจำหน่ายผลิตภัณฑ์

           5.2  พัฒนาสินค้า และผลิตภัณฑ์ กศน. พร้อมทั้งให้มีการคัดเลือกสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่เป็นสุดยอด กศน.ของแต่ละจังหวัด เพื่อส่งไปจัดจำหน่ายยังสถานีจำหน่ายน้ำมัน ซึ่งจะเป็นการสร้างช่องทางจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น 

           5.3  ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน การบริหารจัดการ และการจัดการเรียนรู้

            5.4 ให้มีการใช้วิจัยอย่างง่ายเพื่อการสร้างนวัตกรรมใหม่    

    6. จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สำหรับทุกช่วงวัย : Good Learning Centre  

             ที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตที่สามารถให้บริการประชาชนในชุมชนได้ทุกคน ทุกช่วงวัย ที่มีกิจกรรมที่หลากหลาย สนองตอบความต้องการในการเรียนรู้ในแต่ละช่วงวัย และเป็นศูนย์บริการความรู้ ศูนย์การจัดกิจกรรมที่ครอบคลุมทุกกลุ่มวัย เพื่อให้มีพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสม และมีความสุขกับการเรียนรู้ตามสนใจ

             6.1 ให้เร่งประสานกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อจัดทำทำเนียบข้อมูลโรงเรียนที่ถูกยุบรวม หรือคาดว่าน่าจะถูกยุบรว

บทบาทหน้าที่ของครู กศน. ตําบล

      ๑.    ด้านการวางแผน (P)

        ๑.1  สำรวจ รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย และข้อมูลบริบทของชุมชน                ในตำบลที่รับผิดชอบ ตามรูปแบบการวางแผนจุลภาคอย่างมีคุณภาพ

             ๑.2  การจัดทำแผนการเรียนรู้รายชุมชน

             ๑.3  จัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการกับผู้บังคับบัญชา        

             ๑.4  บันทึกข้อมูลในฐานข้อมูล กศน.ตำบล (DSMIS)

      ๒.  ด้านการดำเนินการ (D)

        2.1  จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 แผนการเรียนรู้รายบุคคล (ทำหน้าที่ครูประจำกลุ่ม)

        2.2  จัดและส่งเสริม สนับสนุน และประสานงาน การจัดการเรียนรู้ ในภารกิจศูนย์การเรียน        ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงประจำตำบล ศูนย์ดิจิทัลชุมชนประจำตำบล และศูนย์ส่งเสริม       และเผยแพร่ประชาธิปไตยประจำตำบล และศูนย์การศึกษาตลอดชีวิต โดยยึดหลักการ                 ใช้ กศน.ตำบลเป็นฐาน

      ๓.   ด้านการตรวจสอบและประเมินผล (C)

        พิจารณาจากร้อยละของผู้จบหลักสูตรของผู้เรียนและผู้รับบริการให้เป็นบริการให้เป็นไปตามตัวชี้วัดที่กำหนด

      ๔.   ด้านการปรับปรุงและพัฒนาผลการปฏิบัติงาน (A)

      ๔.1  สรุปผลการปฏิบัติงานหรือความสำเร็จของงานที่ได้ดำเนินการ

    ๔.2  นำเสนอผลการปฏิบัติงานเห็นว่าต้องปรับปรุง และพัฒนา โดยให้มีแนวทางพัฒนาปรับปรุงที่ชัดเจน

      ๔.3  มีผลปฏิบัติงานที่ดี (Best Practice) อย่างน้อย 1 ผลงาน

 
ออนไลน์ทั้งหมด 1 คน
หมายเลข IP 101.109.252.209
คุณเข้าชมลำดับที่ 192,026
 
สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อ.ส.ม.   สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5
สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์    สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์
สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส Thai PBS   สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7. Bangkok Broadcasting & T.V. Co
 




----------------------------
 กศน.สตูล มุ่งสร้างสรรค์ สังคมอุดมปัญญา   NFE_SATUN   Create by OBECLMS    Modify by Mr.kamron
กศน.ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
ซอย 17 ถนนสตูลธานี ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
Tel : 074-722202  Fax : -
Email : @nfe.go.th